08 พฤษภาคม 2552

Systematic Review & Meta-analysis

จากที่ผมเคยสัญญาว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ Appraise Systematic Review นะครับ ก่อนอื่นเลยก็ต้องขอพูดเกริ่นนำเรื่อง Systematic Review และ Meta-analysis ก่อนครับ

Systematic Review โดยนิยามนั้นหมายถึงการรวบรวมคำตอบของคำถามที่จำเพาะเจาะจงครับ ลองนึกสภาพถึงคำถามที่เกิดขึ้นในทางคลินิกนะครับ คำถามในที่นี้ก็จะล้อกันไปกับ PICO นั่นละครับ ตัวอย่างเช่น

  • การให้ Aspirin ในผู้ป่วยเบาหวานช่วยลดการเกิด MI หรือไม่
  • การให้ แป๊ะก๊วย ช่วยลดอาการปวดขาเป็นพักๆ (intermittent claudication) หรือไม่
  • การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง (laparoscopic cholecystectomy) ลดอัตรา complication หรือไม่เมื่อเทียบกับการผ่าแบบเปิด (open cholecystectomy)
  • ฯลฯ

เมื่อมีการตอบคำถามเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากทั้งการศึกษาแบบ observational (cohort/cross-sectional) หรือ experimental (RCT) มันก็คงไม่สะดวกเวลาตอบใช่ไหมครับ หากเราต้องมานั่งอ่านเป็นสิบเปเปอร์ มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรารวมคำตอบไว้ทีเดียวเลย นั่นคือที่มาของ “review” ครับ

แต่หลายๆ ท่านก็คงเคยอ่าน review โดยทั่วๆ ไปแล้วนะครับ เช่นจากพวก textbook หรือ article review ที่อ่านตามหนังสือทั่วไป ปัญหาของพวก review พวกนี้ที่เกิดขึ้นก็คือว่า มัน “ไม่เป็นระบบ” ครับ คนทำอาจจะเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ (เช่นคนเขียนนั่งอยู่ที่บริษัทเครื่องมือผ่าตัดส่องกล้อง เขียนเชียร์ตัวเองอยู่) ทำให้ผลที่ได้อาจจะไม่ได้พูดถึงในอีกแง่มุมหนึ่งเลย จุดนี้เอง เป็นที่มาของการทำ Systematic Review ครับ

ขั้นตอนของการทำ Systematic Review ขั้นแรกก็คือการตั้งปัญหาที่เราสนใจครับ ปัญหานั้นจะต้องค่อนข้างเจาะจง เพื่อที่เราจะได้ตอบได้ครับ หลังจากนั้นเราจะต้องหาคำตอบของปัญหานี้ด้วยวิธีที่เป็นระบบ โดยอาจจะมีการตั้งกฎเกณฑ์ที่เป็นระบบไว้ก่อน เช่น ตั้งว่าจะค้นหาด้วยวิธีใดบ้าง ค้นฐานข้อมูลใด ใครค้น คัดเลือกด้วยใคร ใครเป็นคนกรอกข้อมูล ข้อมูลที่ได้จะรวมกันแบบไหน อย่างใด เสมือนหนึ่งเดียวกับการทำวิจัยชนิดอื่นๆ เลยครับ (นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “Systematic”)

ขั้นต่อมาก็คือการค้นคว้าครับ ในขั้นตอนการค้นคว้านี้ ฐานข้อมูลที่เป็นที่นิยมโดยส่วนมากก็คือ Medline ครับ ไม่ต้องงงนะครับ จริงๆ ก็คือฐานข้อมูลที่ PubMed มีอยู่นั่นละครับ (PubMed เป็นชื่อของ “ตัวค้น” – Search Engine ส่วน Medline เป็นชื่อของ “ฐานข้อมูล” – Database) ส่วนฐานข้อมูลอื่นๆ ที่นิยมก็เช่น EMBASE (ของฝั่งยุโรป), CINAHL, Cochrane Controlled Trial Register เป็นต้นครับ นอกจากนี้ยังอาจจะค้นจากสื่ออื่นๆ เช่น ค้นจากการติดต่อ Expert, ค้นจากรายงานของ Conference ต่างๆ ด้วยก็จะยิ่งดีครับ

หลังจากที่เราค้นหาหลักฐานต่างๆ จากฐานข้อมูลนี้มาได้แล้ว เราก็จะต้องมาดูว่าเปเปอร์ไหนบ้างที่เข้ากับคำถามของเราครับ (ตรงจุดนี้จะต้องมีกำหนดไว้ก่อนในช่วงแรกแล้วอย่างแน่ชัดเป็น inclusion/exclusion criteria มิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่าเรา “เลือก” หลักฐานมา – เป็น selection bias นั่นเองครับ)

เมื่อได้เปเปอร์มาแล้ว ผู้วิจัยส่วนใหญ่ก็จะให้คะแนนความน่าเชื่อถือของเปเปอร์ครับ โดยคะแนนความน่าเชื่อถือนี้มีหลายแบบครับตามแต่ว่าเปเปอร์ที่เลือกมานั้นเป็นประเภทใด เช่นถ้าเป็นของ RCT ก็จะเป็น JADAD score เป็นต้นครับ

หลังจากนั้นผู้วิจัยก็อาจจะสรุปเลยก็ได้ครับว่าหลังจากที่ค้นมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่จบเพียงแค่นี้ครับ (เพราะเสียดายอุตส่าห์ค้นมาตั้งเยอะ) ส่วนใหญ่เขาก็จะดึงเอาข้อมูลออกมา เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นมารวมกันด้วยวิธีการทางสถิติ ที่เรียกกันว่า meta-analysis กันนั่นเองครับ (โดยอาจจะมี Forest Plot + Heterogeneity Test ตามที่เคยเขียนไปแล้วด้วยครับ) นอกจากนี้ยังอาจจะวิเคราะห์ย่อยๆ ด้วยเช่นว่า ถ้าแบ่งเปเปอร์เป็นกลุ่มๆ แล้วจะมีคำตอบแตกต่างกันไปหรือไม่ เช่นผมรวม RCT ที่เกี่ยวกับการให้ Aspirin ในคนไข้เบาหวาน แต่มันมีทั้งเบาหวานแบบที่มีความดันร่วมด้วย หรือไม่มีความดันร่วมด้วย ผมอาจจะแบ่งข้อมูลเป็นสองกลุ่ม แล้วดูว่ามันต่างกันหรือไม่ก็ได้ครับ ซึ่งเรียกว่าการทำ Subgroup analysis

นอกจากการนำข้อมูลของเปเปอร์อื่นมารวบรวมด้วยกันแล้ว เรายังอาจจะนำเอาข้อมูลของ “คนไข้” ในแต่ละเปเปอร์นี้มารวมกันได้ด้วยครับ นั่นก็คล้ายกับว่าผู้วิจัยเสมือนหนึ่งเป็นการรวม Trials ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้จำนวน n มากขึ้นนั่นเองครับ การนำข้อมูลคนไข้มารวมกันนี้ บางทีก็จะเรียกว่าเป็น Individual Patient Data ครับ

และสุดท้ายที่ผู้วิจัยอาจจะนำเสนอก็คือการแสดง Publication Bias ครับ Publication Bias ก็คือการที่ Study ที่ไม่ได้ผลนั้นอาจจะไม่ได้ลงตีพิมพ์ในฐานข้อมูล ทำให้เราอาจจะ “หลุด”  Study ที่ไม่ได้ผลก็ได้ครับ เช่น RCT ที่ให้แป๊ะก๊วยแล้วไม่ได้ผล ก็อาจจะไม่มีสำนักพิมพ์ไหนอยากเอาไปพิมพ์ ทำให้ในฐานข้อมูลทั้งหมดกลายเป็นมีแต่แป๊ะก๊วยใช้ได้ผล ทั้งๆ ที่มันก็มี RCT ที่ให้แล้วไม่ได้ผลเหมือนกัน ตรงจุดนี้เราสามารถพล็อตกราฟเพื่อดูได้ครับว่า ผลมันไปทางเดียวกันหมดเลยหรือเปล่า (กราฟที่นิยมคือ Funnel Plot ครับ)

กล่าวโดยสรุปแล้ว ถ้ามีการวางแผนและทำเป็นระบบนั้น ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือของการทำ Systematic Review เข้าไปอีกครับ นั่นเองเป็นที่มาของว่า ทำไม Systematic Review นั้นถึงได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของ Hierachy of evidence ครับ

49 ความคิดเห็น:

  1. คุณเป็น Blogger ตัวยงจริงๆครับ ทำได้ดีมาก ทั้งในแง่ คุณภาพ (เนื้อหา, ตัวอย่าง, Screeshot) ปริมาณ (Clinicalepi.com, pawinpawin.com, blognone.com, thaiclinic.com,etc.) และความถี่ (โดนรวมแล้วน่าจะเกือบทุกวัน)

    ถ้ามีการจัดรางวัล Blogger ยอดนิยมผมคนหนึ่งแหละที่จะยกมือให้คุณครับ
    ขอบคุณสำหรับ Post ดีๆนะครับ =-)

    ตอบลบ
  2. @Dr. Kid ขอบคุณครับ :D จะพยายามหาเรื่องมาเขียนให้อ่านกันเรื่อยๆ นะครับ

    ตอบลบ
  3. แวะมาทักทายครับพี่ปวิน

    ตอนนี้เรียน Fam Med + Com Med ปี 4 แล้วครับ

    เรียนกับอาจารย์ไพบูลย์ ล่ะครับ

    พรุ่งนี้ สอบแล้วเพิ่งเริ่มจะอ่านนี่ล่ะครับ -*-

    เลยเข้ามาทบทวนเรื่อง ระบาดวิทยาสักหน่อย

    ขอบคุณมากครับ สำหรับ Blog ดี ๆ เช่นนี้

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ3/8/52 08:15

    อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ หวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคต
    ภัทรวัณย์

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ7/12/52 11:36

    ไม่เข้าใจตรง publication bias ค่ะ คือถ้าไม่ได้ผล ก็มักจะไม่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ไหนเป็นส่วนมาก แล้วเราจะไปหางานวิจัยที่ไม่ได้ผลนี้มาจากไหนคะ เพื่อที่จะได้เอามารวมใน review ด้วยกัน

    ตอบลบ
  6. นั่นคือหน้าที่ของคนทำที่ต้องไปขุดคุ้ยตามวารสารหัวเล็กๆ, งานประชุมวิชาการ, การติดต่อกับผู้ที่ชำนาญและทำงานอยู่ใน field นั้นๆ รวมถึงถ้าเป็นเกี่ยวกับยาก็ต้องติดต่อบริษัทยาถึงงานวิจัยที่อาจไม่ได้ตีพิมพ์ครับ

    ถ้าค้นได้ละเอียดแบบนี้ก็จะดีมากครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ16/12/52 21:41

    สวัสดีครับ คือผมเป็นนิสิตแพทย์ บังเอิญว่ามีข้อข้องใจเล็กน้อย ที่อยากจะสอบถามครับ

    คือตามที่ผมเข้าใจ systematic review เนี่ย จะทำ meta- analysis ร่วมด้วยหรือไม่ ก็ได้ แต่ในทางกลับกัน ผมอยากจะทราบว่า มีการทำ meta-analysis โดยไม่ผ่าน systematic review รึเปล่าครับ?

    ถ้าถามซ้ำก็ขออภัยขอครับ บังเอิญผมหาไม่เจอ

    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  8. Systematic Review คือกระบวนการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่วน
    Meta-analysis คือวิธีการทางสถิติในการรวบรวมข้อมูลที่ค้นมาได้ครับ

    เพราะฉะนั้นถ้ามี Meta-analysis ก็ควรจะมี Systematic Review มาซะก่อน ไม่งั้นก็เหมือนการเอาคอมพิวเตอร์ดีๆ มาใช้กับข้อมูลที่เก็บมาอย่างแย่ๆ --> ผลที่ได้ก็ออกมาแย่ๆ อยู่ดีครับ เพราะฉะนั้นเรามักจะเห็นว่าการที่มี meta-analysis นั้นมักจะได้รับการทำ Systematic Review ที่ดีมาก่อนอยู่เสมอ

    ในขณะที่การทำ Systematic Review อย่างเดียวโดยที่ไม่ได้คำนวณรวมกันทางสถิตินั้นทำได้ครับ และเห็นได้บ่อยๆ เสียด้วย ในบางกรณีก็อาจจะทำแล้ว Discuss เป็นแค่ Review Paper เท่านั้นครับ แต่ก็อย่างว่า ส่วนใหญ่ไหนๆ ก็เก็บมาแล้ว อ่านไปแล้ว ก็มักจะรวบรวมกัน หาคนมาวิเคราะห์ข้อมูลให้ และออกเป็น meta-analysis ผนวกกันไปด้วยเลยครับ

    เข้าใจขึ้นไหมครับ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ16/12/52 22:11

    เข้าใจมากขึ้นแล้วครับ ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ8/4/53 18:08

    Heterogeneity คืออะไร ใช้ยังไงครับ?

    ตอบลบ
  11. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  12. สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูชื่ออุ้ยนะคะ ตอนนี้เรียนแพทย์ปีหนึ่งค่ะ เรียน epidemiology ด้วยค่ะ ยากจังเลย ^^" พอดีวันนี้เรียน Systemic Review กับ Mate-analysis แล้วไม่ค่อยเข้าใจเลยลองมาหาใน google ดู ก็มาเจอของคุณหมอนี่แหละค่ะ เลิศมากกกกค่ะ : D

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ29/7/53 21:54

    นักศึกษาคณะเภสัช มช.
    ขอบคุณมากนะคะ คุณหมอ พอดีว่าหนูมีความสงสัยเกี่ยวกับ systemic review และ meta analysis ค่ะว่าสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์และแตกต่างกันยังไงซึ่งกำลังจะสอบพรุ่งนี้ และมาพบข้อมูลที่คุณหมอให้ไว้ มีประโยชน์มากเลยค่ะ อ่อ มีอีกหนึ่งเรื่องอยากขอรบกวนคุณหมอหน่อยค่ะ คือว่าหนูอยากทราบว่า ในทางปฏิบัติแล้ว paper ที่มีการศึกษาในรูปแบบไหนถึงจะเป็นที่น่าสนใจและน่าเชื่อถือคะ

    ตอบลบ
  14. สวัสดีครับอาจารย์หมอ...ผมเป็นนิสิตเภสัชครับ
    ผมทำวิจัยที่เป็น systematic review เรื่อง สูตรยาที่ใช้ในการป้องกันการแพร่เชื้อง HIV จากมารดาสู่ทารกในประเทศไทยอะครับ ผมอยากขอคำแนะนำจากคุณหมอเรื่องการหาข้อมูลจากหน่วยงานไหนที่ครอบคลุมงานวิจัยในประเทศไทยครับ

    ตอบลบ
  15. อืม ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ลองสอบถามจากสำนักโรคเอดส์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขดูครับ

    ตอบลบ
  16. ฝนค่ะ28/3/54 01:20

    ตัวเองจะสอบบอร์ดปีนี้ค่ะ ทำวิจัยจบไปแล้ว รู้สึกว่ายากดี อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยเยอะแยะ..เพิ่งเข้ามาอ่านค่ะ ขอบคุณที่อธิบายเรื่องยากๆ ได้เข้าใจง่าย น่ารักดีค่ะ ^-^ ขออนุญาติติดตามบล็อกนะคะ..

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ18/6/54 23:13

    สวัสดีคะคุนหมอ ตอนนี้หนูเรียนปีหนึ่ง แต่ต้องเรียนวิชานี้ด้วย เข้ามาอ่านแล้วช่วยให้เจ้าจัยได้เยอะเลยคะ สอบวันจันนี้ แต่ตอนนี้ยังงงเรื่องเทสแต่ละแบบอยู่เลย chi squared, paired t-test and unpaired, logistic regression ... etc.

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ18/6/54 23:17

    รบกวนคุนหมอช่วยอธิบายเรื่องความแตกต่างของแต่ละเทสหน่อยนะคะnpreecha@une.edu.au คะ

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ4/10/54 15:16

    ทิ้งการเรียนไปนานอ่านpaperแล้วก็สงสัยพอมาเจอwebของหมอเลยได้เข้าชัดๆระหว่างsystematic review กับ meta analysis

    ตอบลบ
  20. ใช่ครับ ต้องหาคำถามเอง ส่วนมากก็ตั้งคำถามแบบ PICO แล้วลองหาคร่าวๆ ดูว่าสามารถทำได้หรือไม่ (ดู feasibility) ด้วยการลองค้นหาดูว่ามีเปเปอร์ที่สามารถเรียบเรียงรวมกันได้มากน้อยเพียงใด ครับ

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ28/10/54 14:21

    PICO อย่างไรค่ะ ลองดูแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าถ้าจะสร้างคำถามให้กับวิจัยของตัวเองได้อย่างไร systematic review of knowledge transfer for electronic medical record system. ซึงเป็นหัวข้อโปรเจกของหนู
    อยากถามว่าการตั้งคำถามเราต้องอ้างอิงจากอะไรบ้าง หมายถึงตั้งเองลอยๆได้ไหม หรือว่าต้องดูจากเปเปอร์ก่อนว่าสามารถตอบคำถามเราได้ไหมถึงสามารถตั้งคำถามนั้นได้ แล้วส่วนใหญ่แล้วจะตั้งคำถามมากน้อยแค่ไหน
    หากคุณหมอมีตัวอย่างโปรเจกขอดูเป็นตัวอย่างหน่อยได้ไหมค่ะ? ยังมีคำถามอีกมากมายที่อยากถามคุณหมอ รบกวนหน่อยน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  22. การถามคำถามมีสองแบบครับ

    เบื้องต้นคำถามที่เป็นพื้นฐาน ต้องการทราบความรู้ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับโรคหรือภาวะหนึ่งๆ เรียกว่า Background Question เช่น ถามว่า "Acute Rhinosinusitis คืออะไร" "มีแนวทางในการรักษาแบบใดได้บ้าง"

    คำถามอีกแบบคือคำถาม Foreground Question นั่นคือเจาะจงไปในประเด็นเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจทางคลินิก ยกตัวอย่างเช่น "ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ที่เป็น Acute Rhinosinusitis การให้ Topical Nasal Steroid ช่วยลดอาการทางจมูก เมื่อเทียบกับการไม่ให้อะไรเลย หรือไม่"

    จะสังเกตได้ว่า Foreground Question นั้นจะประกอบด้วยว่า "ใคร" "สิ่งที่ให้" "เปรียบเทียบกับอะไร" "ผลลัพธ์ดูยังไง" ซึ่งส่วนนี้มักจะได้คำถามมาจากการที่เรารู้ในส่วนของ Background มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมาจากการทำงานด้านคลินิกครับ ถ้าไม่ทราบเอง คิดว่าจำเป็นต้องถามผู้ที่มี Background Knowledge มากๆ ที่อยู่ใน Field ครับ

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ16/12/54 06:39

    เขียนได้เข้าใจง่ายดีนะครับ ผมก็เพิ่งเรียนจบ Module ประมาณนี้ไป ที่อังกฤษอาจารย์พูดเข้าใจยากกว่าหมออีกนะครับ คนไทยอธิบายเก่งกว่าเยอะ ขอชมนะครับ

    ตอบลบ
  24. สโรชา21/3/55 04:49

    สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูอ่าน meta-analysis แล้วในการศึกษาเค้าวิเคราะห์ผล (RR) แยกเป็น fix effect model กับ random effect model ค่ะ จึงสงสัยว่าทำไมต้องแยกเป็นผลวิเคราะห์เป็น 2 แบบ แล้วทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันยังไงคะ ใช้ในกรณีไหนค่ะ (ผลของการศึกษานี้ก็ได้ออกมาเหมือนกันทั้ง 2 แบบเลยอ่ะค่ะ) ต้องขอขอบคุณบล็อกของคุณหมอนะคะ อ่านแล้วเข้าใจจากที่เรียนมามากขึ้นเลยค่ะ ^^

    ตอบลบ
  25. Fixed Effect Model หลักการคือเชื่อว่าค่าจริงๆ เป็นค่าที่ Fix อยู่ค่าเดียวครับ ส่วน Random Effect คือเชื่อว่าเป็นช่วงของค่า ส่วนใหญ่แล้วเราจะเชื่อ Random Effect Model มากกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่มี heterogeneity ครับ

    ตอบลบ
  26. สโรชา27/8/55 15:03

    ขอบคุณมากค่าาา

    ตอบลบ
  27. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  28. อาจารย์ Pawin ครับ ไม่ทราบว่า Publication bias กับ heterogeneity มีความแตกต่างกันอย่างไรครับ
    ผมยังไม่ค่อยเข้าใจครับ จากที่อาจารย์อธิบายว่าถ้า Publication bias เป็นการดูว่าการที่ Study ที่ไม่ได้ผลนั้นอาจจะไม่ได้ลงตีพิมพ์ในฐานข้อมูล ถ้าเช่นนั้นเราจะหามันได้จากที่ใดครับ แล้วเพราะอะไรเวลาคำนวณเราจึงใช้งานวิจัยที่เรารวบรวมมาอยู่ใน Meta-analysis มา Plot funnel plot ออกมาครับ
    (ไม่ทราบว่าจะรบกวนอาจารย์ไหมครับ ถ้าอยากให้อาจารย์เล่าให้ฟังถึงค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Begg, Egger ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ) ขอบคุณมากครับอาจารย์ Pawin

    ตอบลบ
  29. Publication bias เป็นการบอกว่า Study ของเรามันดูเอนเอียงไปทางไหนหรือไม่ครับ
    ในความเป็นจริงเราไม่อาจบอกได้หรอกครับว่ามันจะหาได้จากที่ไหน แต่ดูตามลักษณะของกราฟที่พล็อตแล้ว มัน"ขาด" ส่วนการศึกษาที่มันเป็น negative บางส่วนไปน่ะครับ

    และ Heterogeneity เป้นการบอกว่า Study ที่นำมารวมกันมันแตกต่างกันหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  30. ขอบคุณครับ อาจารย์ Pawin

    ตอบลบ
  31. ไม่ระบุชื่อ10/1/56 23:52

    ขอบพระคุณมากครับ มีประโยชน์ เข้าใจง่ายครับ พรุ่งนี้จะเอาไปบอกต่อนะครับ

    ตอบลบ
  32. ไม่ระบุชื่อ24/10/56 22:25

    ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ ขอเรียนสอบถามนะค่ะ ถ้าหาข้อมูลได้มาแล้ว เป็น SystematicReview 1 เรื่อง (meta-analy แล้วค่ะ) จะสามารถนำมาวิเคราะห์เนื้อหาส่วนที่ต้องการทำได้ไหมค่ะ จะถือว่ามีข้อมูลเรื่องเดียว หรือว่าจะนำข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วนั้นมาต่อยอดได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  33. ก็คงจะต้องมีไอเดียเพิ่มนิดหนึ่งครับว่าทำไมเราจะต้องทำ Systematic Review อันใหม่อีก เช่น ดู outcome ที่ไม่เหมือนของเก่า, มีเปเปอร์ใหม่ๆ ออกมาหลายเปเปอร์ หรือกระบวนการทำ systematic review เก่าทำได้ไม่ดีครับ

    ตอบลบ
  34. ไม่ระบุชื่อ21/2/57 14:10

    รบกวนสอบถามอ.ค่ะว่า systematic review จำเป็นต้องมีผู้หาข้อมูลและอ่าน(เป็นอิสระต่อกัน) 2 คนไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  35. ไม่จำเป็นครับ แต่เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกัน bias ครับ

    ตอบลบ
  36. ไม่ระบุชื่อ3/3/57 17:06

    จะหาarticle หรือ textbook เกี่ยวกับsystematic review และMeta-analysisได้จากเวปอะไรบ้างค๊ะ

    ตอบลบ
  37. ไม่ระบุชื่อ3/3/57 17:08

    ยอดเยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ
  38. ไม่ระบุชื่อ5/11/57 23:46

    ขอบคุณมากนะคะ บล๊อกพี่มีประโยชน์ต่อการสอบคอมเมดหนูมากกเลยยค่าาา /\

    ตอบลบ
  39. ทำ systematic review จำเป็นต้องหาเปเปอร์ที่เป็น RCT เท่านั้นเหรอครับ เราสามารถนำเปเปอร์ที่เป็นเฉพาะ in vitro ทั้งหมดมาทำ systematic ได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  40. บล็อกของอาจารย์เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ สนใจเรื่อง Systematic review and Meta-analysis พอดีเจอว่าส่วนใหญ่ งานวิจัยที่เลือกมาทำ Systematic reviews จะเป็น RCTs แต่ก็มีหลาย Paper ที่เลือกทั้ง Clinical Trials (Quasi) และ RCTs สงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าทำไมหรือมีเหตุผลอะไรบ้างคะที่เลือกเอา CCTs เข้ามาด้วยแทนที่จะเลือกเฉพาะ RCTs อย่างเดียวค่ะ

    ตอบลบ
  41. กรณีคำถามวิจัยที่เลือกมาก เป็นเรื่องที่มี paper ที่เคยศึกษามาแล้วน้อยมาก หรือไม่มีเลย จะหา Systematic Review ได้จากที่ไหนครับ

    ตอบลบ
  42. ไม่ระบุชื่อ6/3/60 13:59

    อยากทราบว่า ใน Meta-analysis บางอัน มี result แยกว่าเป็นแบบ patient level data กับ trial level data
    หมายถึง ถ้าเป็น patient level data คือ เอา ข้อมูลดิบ ของแต่ละ trial ที่หามาได้ มารวมแล้ว คำนวณใหม่เหรอคะ
    ส่วน trial level data คือ เอาข้อมูลจากทีมีของ trial มายำรวมเลย ใช่มั้ยคะ....ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  43. คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ21/8/65 17:37

      ARSIP SUMUT

      TOP NEWS >>> www.arsipsumut.com

      ลบ
  44. I am a new researcher from Laos, I am about interesting to start a systematic review and I found your blog which very useful for me, the way you presented is very interesting, structured, and clear that why making easy to understand. Thanks a lot for your sharing and hopefully to read more topic from you.

    ตอบลบ
  45. Las Vegas, NV - Casino, Hotel, RV, Golf, Restaurants
    Discover everything you need to 부천 출장마사지 know about the best Las Vegas casinos, including 태백 출장안마 everything you need to know 경산 출장마사지 about the casino and 영천 출장샵 Las Vegas area. 목포 출장안마

    ตอบลบ
  46. ไม่ระบุชื่อ21/8/65 17:37

    ARSIP SUMUT

    TOP NEWS >>> www.arsipsumut.com

    ตอบลบ

ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ด้วยนะครับ
Please leave your comments about this topic.