14 กุมภาพันธ์ 2552

วิธีการค้นหาขั้นพื้นฐานด้วย PubMed - MeSH

ใครอยู่ในแวดวงสาธารณสุขแล้วไม่รู้จัก PubMed ผมคิดว่าค่อนข้างล้าหลังเลยทีเดียว นักศึกษาแพทย์สมัยใหม่ตอนนี้ได้รับการฝึกให้รู้จักการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ตัวนี้มาตั้งแต่ปีสามปีสี่ แต่จะมีสักกี่คนกันที่เอาไปใช้ในชีวิตจริง วันนี้ผมจะลองนำเสนอการค้นหาข้อมูลจากชีวิตจริงโดยประยุกต์ใช้ PubMed มาให้ดูนะครับ

สมมุติว่าผมมีคนไข้ผู้หญิงอายุประมาณ 40 ปีมาปรึกษาด้วยอาการใบหน้าข้างซ้ายชาและปากเบี้ยว ตรวจร่างกายทางระบบประสาทอื่นๆ ปกติ ตรวจใบหน้าเข้ากันได้กับภาวะที่เรียกว่า Bell’s palsy ปัญหาของผมที่อยากรู้คือว่าการรักษาที่เคยเห็นเขาใช้ๆ กันคือให้ Steroid และ Antiviral แต่ผมอยากรู้ว่ามันได้ผลหรือเปล่า เพราะเคยเห็นพี่บางคนให้แต่ก็ไม่เห็นมันจะหายเบี้ยวเลย ทำยังไงดี

จากสถานการณ์นี้เราลองมาสรุปดูเป็นคำถามทางคลินิก โดยใช้หลักของ PICO (แยกคำถามเป็น Patient, Intervention, Comparison, Outcome) เพื่อหางานวิจัยที่เขามีคำถาม PICO คล้ายของเรามากที่สุดดูนะครับ (ลองคิดเองก่อนดูของผมก็ดีนะครับ)

ส่วนของผมลองตั้งได้คือ

P: ผู้หญิง, 40 ปี, วินิจฉัย Bell’s Palsy, ตรวจร่างกายมีชาและปากเบี้ยวดังกล่าว
I: Steroid และ/หรือ Antiviral
C: ไม่ให้อะไรเลย
O: หายปากเบี้ยว

ปัญหาคือเราจะเอา PICO นี้ไปหาใน PubMed ได้อย่างไร? หลายๆ คนคงคิดว่าไม่ยาก ก็ใส่มันลงไปหมดเลยซิ

1

เป็นไงครับ ผลที่ได้ ดูเหมือนจะได้ผลดีเหมือนกันนะครับ แต่ทำไมมันออกมาน้อยจัง นี่ยังดี บางคนหาจหาไม่ได้เลยก็เป็นไปได้นะครับ นั่นเป็นเพราะว่า PubMed มันเป็นฐานข้อมูลที่ยังไม่ค่อยฉลาดเสียเท่าไหร่ มันอาจตีความคำค้นหาของเราผิดก็ได้

วิธีของผมคือ ลองจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) ว่าคำค้นหาคำไหนมันสำคัญกว่ากัน

Bell’s Palsy: สำคัญแน่ๆ ไม่งั้นไม่เกี่ยวข้องเลย ผมให้ความสำคัญ 100%
Steroid, Antiviral: สำคัญเหมือนกัน แต่เลือกเอาระหว่างตัวมันกับ Antiviral
Female: ผมว่าไม่น่าจะสำคัญซะเท่าไหร่ ผู้ชายก็น่าจะเหมือนกันมั้ง ให้ความสำคัญประมาณ 20%

การค้นหาก็เหมือนกันครับ เราจะต้องทำการค้นหาเอาเฉพาะผลที่มีโรค Bell’s Palsy นี่ให้ได้ แต่บางที คนเขียนงานวิจัยเค้าอาจจะใช้ Idiopathic Facial Palsy ก็ได้ ใครจะรู้ บางคนอาจจะใช้แค่ Facial Palsy เฉยๆ หรือบางคนใช้ Bell Palsy ที่ไม่มี ‘s ทีนี้จะทำไงดี

ทางแก้ของเราคือใช้ฐานข้อมูลคำของ PubMed ครับ นั่นคือสิ่งที่เขาเรียกว่า “Medical Subject Heading” (MeSH) ซึ่งภายใน PubMed เอง เมื่อมีงานวิจัยเข้ามาในฐานข้อมูล จะให้บรรณารักษ์เป็นผู้กำหนดว่า งานวิจัยไหน เข้าหมวดหมู่กับคำในฐานข้อมูล MeSH อันใด เราสามารถค้นหาได้โดยเลือกฐานข้อมูลเป็น MeSH แล้วค้นครับ

2

ตามรูปเลยครับ เปลี่ยนในช่องด้านบนซ้ายให้เป็น MeSH แล้วพิมพ์หา Bell’s Palsy แล้วกด Go จะปรากฎผลลัพธ์ด้านล่าง ให้ติ๊กถูกหน้าคำที่เราสนใจ (บางทีจะขึ้นมาหลายคำ เราก็ลองอ่านดูว่ามันเป็นความหมายที่เราสนใจหรือเปล่า อย่างของผม “A syndrome characterized by the acute-onset of unilateral FACIAL PARALYSIS…” ก็น่าจะใช่นะ แล้วคลิ๊กที่ Send to เพื่อเลือก Search Box with And

3

จริงๆ จะเป็น AND/OR/NOT ก็ได้ครับ ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวเราก็จะต้องมาพิจารณาก่อนที่จะหาต่ออีกทีหนึ่งว่ามันเข้าใจเราถูกบ้างหรือเปล่า หลังจากเลือกแล้วมันก็จะมีช่องว่างๆ ขึ้นมาดังนี้เลยครับ

4

นี่ละครับ แสดงว่าคำที่บรรณารักษ์เขาใช้มันคือ “Bell Palsy” ไม่ใช่ “Bell’s Palsy” อย่างที่ผมเข้าใจซักหน่อย (ไม่มี ‘s จริงๆ ด้วย) หลังจากนั้น เราสามารถหาคำอื่นๆ ในฐานข้อมูล MeSH แล้วค่อยๆ Send to Search Box with AND ลงไปได้เรื่อยๆ ด้วยวิธีการเดียวกัน ผมจะลองใส่ Antiviral, Steroid ลงไปด้วยวิธีการหาจาก MeSH นะครับ:

5

จะสังเกตได้ว่า คำค้นหาคือ “Bell Palsy”[Mesh], “Steroids”[Mesh], “Antiviral Agents”[Mesh] ทีนี้ อย่างที่ผมบอกไปว่าผมอยากได้ทั้ง Steroid เดี่ยวๆ กับ Antiviral เดี่ยวๆ ด้วย ผมก็คงต้องเปลี่ยนเป็นว่า ผมต้องการบทความที่มีคำว่า Bell และ (Steroid หรือ Antiviral) ดังนั้นก็คงจะต้องเปลี่ยนในช่องเล็กน้อย

6

ครับ ทีนี้เราก็พร้อมจะค้นแล้ว ให้กดที่ “Search PubMed” ได้เลยครับ

7

เห็นไหมครับ ว่าตอนนี้เราได้ผลลัพธ์เยอะกว่าเดิม ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ!

39 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากๆค่ะ ได้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ PICO และ การค้นหาโดย Mesh มากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ5/6/52 20:02

    ดีมากๆค่ะ ขอบคุณที่ทำ web ดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10/6/52 00:27

    ขอบคุณนะครับ ที่เอื้อเฟื้อความรู้ดี ๆ แบบนี้แก่ผู้สนใจ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24/8/52 03:15

    ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ได้ประโยชน์มาก ๆ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ17/1/53 22:39

    ขอบคุณมากค่ะ สอนที่ละขั้น เข้าใจและเห็นภาพขึ้นมาก

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ11/2/53 00:51

    ขอบคุณมาก อธิบายได้กระจ่างดีมากครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ25/4/53 21:38

    พอดีผมกำลังหาเลยครับเข้ามาเจอ รู้สึกประทับใจมากเพราะไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลยว่าเค้าหากันแบบนี้
    ขอบคุณมากๆครับ มีประโยชน์มากเลยครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ23/7/53 04:39

    ขอบคุณมากนะครับ เป้นบทความที่มีประโยชน์มาก
    ถามนิดนึงนะครับ...มันมีแต่ abstract ผมจะไปหา full paper ได้จากที่ใหนแบบฟรีๆไม่ต้องเสียเงินอ่ะครับ หรือว่าต้องไปสมัครเป้นสมาชิกตามห้องสมุดต่างๆหรือเปล่า

    ปล...ตอนนี้เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ขอบคุณครับ

    คุณวีร์

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ14/8/53 20:01

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ หนูใช้ Pubmed มา 4 ปี ไม่เคยรู้วิธีการใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างนี้เลย

    ขอบคุณมากๆ อีกครั้งค่ะ

    ขอให้อาจารย์ทำบล็อกดีๆ อย่างนี้ไปนานๆ นะคะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ4/11/53 22:07

    ขอบคุณมากนะคะที่ทำบล๊อกที่มีประโยชน์นี้ออกมา

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  12. ขอบพระคุณมากครับอาจารย์

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ26/2/54 15:59

    อาจารย์ยังพัฒนาบล๊อกอยู่หรือเปล่าครับ พอดีเพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่าน ชอบครับ เผื่อว่ามีอะไรจะได้ขอความกรุณาบ้าง พอดีผมเป็นอาจารย์ทางด้านสัตวแพทย์ น่ะครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ14/5/54 18:44

    ขอบคุณคะเข้าใจขึ้นเยอะเลยคะ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ29/8/54 03:51

    ขอบพระคุณค่ะสำหรับความรู้ทุกเรื่อง

    กรุณาเขียนต่อไปเรื่อยๆนะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ

    สุดท้ายประโยชน์นี้ก็จะถึงประชาชนต่อไป

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ8/9/54 13:44

    ได้ความรุ้มากเลย ขอบคุณครับอาจารย์

    ตอบลบ
  17. ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคำแนะนำที่ดีและที่จำเป็นไม่เฉพาะนักศึกษาแพทย์ เพราะนักวิทยาศาสตร์ก็จำเป็นไม่น้อยเลยทีเดียว

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ4/9/55 15:23

    ขอบคุณค่ะ ละเอียดดี

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ12/9/55 15:58

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ22/11/55 12:55

    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ6/12/55 00:25

    เยี่ยมเลยค่ะ

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ14/12/55 18:17

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ15/11/56 18:26

    ขอบคุณนะค่ะ...ช่วยได้มากเลยค่ะ
    ตอนนี้มาเรียนโท..มันเศร้าจิง T_T

    ตอบลบ
  24. ไม่ระบุชื่อ5/1/57 11:40

    ขอบคุณค่ะ จะสอบพุ่งนี้ละ :)))

    ตอบลบ
  25. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  26. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  27. ขอบคุณนะคับ....เข้าใจง่ายกว่าที่คิด

    ตอบลบ
  28. ไม่ระบุชื่อ17/1/59 23:28

    อยากทราบเหตุผลว่า ทำไมพอลองใช้คำค้นที่เป็น MeSH term เช่น"Esophagitis"[Mesh] เพื่อค้นหางานวิจัย ได้จำนวนงานวิจัยออกมาน้อยกว่า ใช้คำค้นว่า Esophagitis ค่ะ นึกว่าจะได้จำนวนงานวิจัยออกมาเท่ากัน

    ตอบลบ
  29. อาจารย์ครับผมเรียนปริญญาเอกอยู่และกำลังศึกษาเรื่อง Systematic Review/Meta-analysisอยู่ครับซึ่งมีประโยชน์มากครับแต่ผมยังส่งสัยเกี่ยวกับ Pisma 2009 Flow Diagramมีโปรแกรมสำเร็จรูปให้เราวิเคราะห์ใช้ไหมครับ ขอความกรุณาครับให้คำแนะนำด้วยครับ

    ตอบลบ

ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ด้วยนะครับ
Please leave your comments about this topic.