29 มกราคม 2552

ว่าด้วย Study Design

มีหลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง Study Design จากวันก่อนที่ผมเกริ่นไว้คร่าวๆ นะครับ วันนี้จะลองมาขยายความอีกเล็กน้อย

ก่อนอื่นต้องอธิบายสองคำนี้นิดนึงนะครับ

  • Exposure หมายถึงภาวะที่เราสนใจว่ามันจะทำให้เกิดผลอะไรบางอย่าง เช่น การกินยา การสูบบุหรี่
  • Outcome คือผลที่เกิดขึ้นที่เราสนใจ เช่น การเกิดมะเร็งปอด การเกิดหัวใจวาย เป็นต้น

การศึกษาทางระบาดวิทยานั้นโดยหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1. Experimental Design คือผู้วิจัยนั้นเป็นผู้กำหนดเองว่า Subject ในงานวิจัยนั้นจะได้รับ Exposure เอง เช่น กำหนดว่าจะให้กินยา, กำหนดว่าจะได้รับการผ่าตัด, กำหนดว่าจะได้รับการอบรมจิตวิทยา เป็นต้น

ข้อดีของ Experimental Design นี้มีหลายประการครับเช่น

  • สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้เต็มที่ (ภาษาระบาดเรียกว่าคุม Confounding Factors)
  • เนื่องจากเราเป็นคนให้ exposure ก่อนวัด outcome เสมอ (บางคนเรียกการวัด exposure ก่อน outcome นี้ว่า prospective หรือไปข้างหน้า) เราก็จะบอกได้ชัดเจนขึ้นว่า Exposure นั้นเป็นสาเหตุของ outcome แน่ๆ เรื่องเป็นเหตุเป็นผลกันนี้เขามีหลักการชัดเจน คือเรื่อง Causation ซึ่งไว้คราวหลังผมจะเขียนถึงอีก
  • สามารถดู incidence ที่เกิดขึ้นได้ (ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการที่เป็น prospective นั่นเอง)

ข้อเสียก็เยอะเหมือนกันครับ เช่น

  • แพง
  • ทำยาก (จะไปหาใครมายอมเข้าการศึกษา, การศึกษาต้องผ่านการพิจารณาด้านจริยธรรมค่อนข้างมาก)
  • ตัวแทนที่เข้าร่วมการศึกษา นั้นอาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกับประชากรที่เราสนใจ เช่น ตัวแทนเป็นคนที่สนใจในสุขภาพตัวเองอยู่แล้ว จึงมาเข้างานวิจัย อาจไม่เหมือนกันกับประชากรจริงๆ ที่ไม่ได้สนใจสุขภาพเท่าไหร่ ก็ได้ครับ

โดย Experimental Design นั้นจะแบ่งได้หลายแบบ เช่นแบ่งว่าเป็น randomized/non-randomized design เป็นต้น

2. Observational Design คือผู้วิจัยไม่ได้เป็นผู้กำหนดเองครับ (exposure นั้นเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของผู้ถูกศึกษา) ซึ่งโดยมากจะแบ่งออกเป็น

2.1 Descriptive Study เป็นการศึกษาที่ไม่ได้สนใจการเปรียบเทียบอะไรกันเลย กล่าวคือ ศึกษาคนกลุ่มเดียว โรคเดียว งานวิจัยพวกนี้เช่น

  • Case study หรือ case report แค่รายงานผลการรักษาของคนไข้ไม่กี่ราย
  • Case series อาจจะหลายรายขึ้นมาหน่อย เช่น 200-300 ราย
  • Cross-sectional คือการไปเจาะดูในช่วงเวลาเวลาหนึ่ง เช่น ศึกษาดูอัตราการเกิดโรคหัวใจในประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ช่วงปี 2551, ศึกษาดูอัตราการตายของเด็กแรกเกิดในโรงพยาบาลชุมชนในระยะเวลาหนึ่งๆ
  • Longitudinal study อาจมีการตามคนไข้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
  • Ecological study เป็นการศึกษาที่หน่วยย่อยไม่ใช่รายคน เช่น การศึกษาเทียบ GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนกับอัตราตายของโรคหัวใจ (ซึ่งจะเห็นว่าหน่วยย่อยในที่นี้เป็น “ประเทศ” ไม่ใช่คน) เป็นต้น จริงๆ บางคนก็จะจัด Ecological study นี้เข้าไปใน Analytical Study ได้เหมือนกันนะครับ

2.2 Analytical Study เป็นการศึกษาที่มี “การเปรียบเทียบ” ของกลุ่มคนตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป สังเกตว่าจริงๆ แล้วงานวิจัยส่วนใหญ่จะพยายามทำการเปรียบเทียบตรงนี้ขึ้นมาด้วย วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือมักจะมีการใช้วิธีทางสถิติเข้ามาจับ แล้วก็จะได้ค่า p-Value มาด้วย (ถ้าเป็นแค่ Descriptive จะออกมาแค่ %, incidence, prevalence อย่างเดียว ไม่มี p-Value)

Analytical Observational Study นั้นส่วนใหญ่ที่เจอบ่อยมีสามอย่างครับ คือ

  • Cross sectional จะเห็นว่าซ้ำกับตรง descriptive เพราะว่า cross-sectional เป็นการบ่งว่าตัดส่วนหนึ่งของเวลามาทำการศึกษา แต่ทีนี้แทนที่จะศึกษาดูแค่ % ในคนทั้งหมด ก็แบ่งคนทั้งหมดเป็นสองกลุ่มแทน แล้วค่อยวิเคราะห์ “เปรียบเทียบ” ระหว่างสองกลุ่มในแง่ต่างๆ แทน

     cross-sectional
  • Case control เป็นการศึกษาที่ outcome มันเกิดขึ้นมาแล้วเราถอยกลับไปดูว่าคนที่มี outcome กับคนที่ไม่มี outcome นั้นมันแตกต่างกันหรือไม่ครับ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเพื่อดูความเกี่ยวข้องโรคมะเร็งของเส้นประสาทหูชั้นในกับการใช้มือถือ โรคมะเร็งประสาทหูชั้นในนี้ปีนึงจะมีคนเกิดโรคนี้ซัก 3-4 คน การที่เราจะติดตามประชากรทั้งเมืองที่ใช้และไม่ใช้มือถือ (exposure) เพื่อรอให้โรค (outcome) นี้เกิดนั้นก็คงจะทำลำบาก ก็เลยใช้วิธีเอาคนที่เกิดโรคแล้ว (มี outcome แล้ว - หรือเป็น case) เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีโรค (ไม่มี outcome - หรือเรียกว่า control) กลับมาย้อนซักประวัติว่า แต่ก่อนเคยใช้มือถือหรือเปล่า (exposure) ครับ จะเห็นได้ว่า เราย้อนจากผล (outcome) มาหาเหตุ (exposure) แทน

    case-control 

    หรือจะพูดอีกอย่างว่าเราแบ่งกลุ่มคนตาม outcome ก่อน แล้วค่อยแยกดูอัตราของการ exposed เทียบกัน ก็ได้

    ปัญหาของเจ้า case control นั้นอยู่ที่การเลือก control ครับ ซึ่งจะส่งผลไปตอนที่เราสรุปการศึกษา ยกตัวอย่างเช่นจากการศึกษามะเร็งที่ผ่านมา สมมุติว่าถ้าเราเลือก control เป็นคนที่นอนอยู่ที่รพ.ในเวลาเดียวกัน ถ้าผลออกมาพบว่าคนที่เป็นมะเร็งใช้มือถือมากกว่าจริงๆ เราก็จะสรุปได้แค่ว่า “สำหรับคนที่นอนรพ. แล้ว” พบว่าคนที่เป็นมะเร็งใช้มือถือมากกว่า -- หมายความว่าเราไม่สามารถจะเอาไปแสดงถึง “คนที่ไม่ได้นอน รพ.” ได้ครับ บางการศึกษาเลยเลือก case จากหลายแห่ง เช่นนอกจากจะในรพ. ยังเลือกตามชุมชน เป็นต้นครับ
  • สุดท้ายคือการศึกษาแบบ Cohort นั่นคือเราจะดู exposure ก่อนว่าคนนั้นๆ มี exposure หรือไม่แล้วค่อยตามดูว่าเกิด outcome หรือเปล่า เช่น การศึกษาเรื่องสูบบุหรี่ กับการเกิดมะเร็งปอด ก็จะตามดูคนที่สูด กับคนที่ไม่สูบ ว่าอัตราการเกิดมะเร็งปอดในสองกลุ่มนี้เท่ากันหรือไม่ (สังเกตว่าเราแบ่งกลุ่มคนจาก exposure ก่อน แล้วค่อยแยกดูอัตราของ outcome) เป็นต้น

    cohort 

    สังเกตว่ามันก็ไม่ต่างอะไรกับการทำ Experimental เพียงแต่อันนี้เราไม่สามารถไปกำหนด Exposure เองได้เพราะมันจะดูผิดจริยธรรมเกินไป (คือ เราไม่สามารถบอกให้คนทีอ่ยู่ในกลุ่มแรกไปสูบบุหรี่ซะ คนกลุ่มที่สองไม่ต้องสูบ นั่นเอง)

    สำหรับข้อดีของการศึกษาแบบนี้ก็คล้ายกับ experiment บางส่วนคือเราจะรู้ว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันแน่ๆ แต่ปัญหาคือมันก็เสียเวลาในการรอให้ outcome เกิดเหมือนกัน นอกจากนี้แล้วถ้า outcome มันไม่ค่อยเกิด (เช่นมะเร็งในหูชั้นใน) ก็คงจะต้องรอไปเรื่อยๆ จนกว่านักวิจัยแก่ก่อนแน่เลย

มึนกันหรือยังครับ ผมขอพูดคำที่สับสนกันเป็นประจำดีกว่า นั่นคือ คำว่า “Prospective” กับ “Retrospective” อันนี้เป็นที่สงสัยกันมาก แล้วก็สับสนกันมากๆ เลยครับ

คำว่า Prospective หมายถึง การมองไปข้างหน้า ส่วน Retrospective นั้นหมายถึงการมองย้อนหลัง มีผู้ใช้คำคู่นี้สองความหมาย ด้วยกัน

ความหมายที่หนึ่งที่มักใช้บ่อย คือการมองไปข้างหน้าเมื่อเทียบกับเวลา ณ การเริ่มศึกษาของผู้วิจัย เช่น ผมเริ่มศึกษาในปีนี้ (2009) การศึกษาใดๆ ไม่ว่าจะเป็น case control, cohort ที่นั่งรอเก็บข้อมูลตั้งแต่ปีนี้ (2009) ไปถึงปีในอนาคต (2010 2011…) นั้นผมก็อาจจะเรียกว่าเป็น prospective ได้

ในขณะเดียวกัน การศึกษาที่ไปย้อนดูบันทึกต่างๆ เวชระเบียน ที่เขียนขึ้นมาเมื่อปีที่ผ่านๆ มา (2008 2007 …) ก็จะเรียกว่าเป็น retrospective

แต่มีอีกหลายคนใช้ความหมายที่สองคือ prospective ในแง่ว่าเป็นการดู exposure ก่อน outcome (นั่นก็คือเป็นเป็น cohort นั่นเอง) และ retrospective ในแง่ว่าการดู outcome ก่อน exposure (ซึ่งก็คือ case-control) อย่างไรก็ตามคนที่ใช้ความหมายที่สองนี้มีอยู่น้อยนิดครับ คิดว่าส่วนใหญ่จะหมายถึงความหมายที่หนึ่งซะมากกว่า

มาสรุปทบทวนกันดีไหมครับ ว่าเรารู้ study design แบบไหนกันบ้างแล้วครับ ลองดูเลยครับ

study-design

เป็นไงครับ เข้าใจเพิ่มขึ้นบ้างหรือเปล่า ยังไงก็ลองสอบถามกันได้นะครับถ้างง

88 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30/1/52 22:12

    ตามมาอ่านครับพี่ปวิน เมื่อวานมี Quiz ครับ เต็ม 50 ได้ 33 เอง ส่วนใหญ่จะทำไม่ได้เพราะเรื่อง study design นี่ล่ะครับ และก็เรื่อง วิธีการทางสถิติ พวก t-test , f-test chi-square , correlation, regression และ เรื่องอื่น ๆ ของ medical stat อ่ะครับ ตอนหน้าเขียนเรื่องนี้ได้ไหมครับพี่ อิอิ

    ผมสงสัยนิดนึงครับ ตรงนี้อ่ะครับ

    " ความหมายที่หนึ่งที่มักใช้บ่อย คือการมองไปข้างหน้าเมื่อเทียบกับเวลา ณ การเริ่มศึกษาของผู้วิจัย เช่น ผมเริ่มศึกษาในปีนี้ (2009) การศึกษาใดๆ ไม่ว่าจะเป็น case control, cohort ที่นั่งรอเก็บข้อมูลตั้งแต่ปีนี้ (2009) ไปถึงปีในอนาคต (2010 2011…) นั้นผมก็อาจจะเรียกว่าเป็น prospective ได้ "

    แต่ case control คือ การศึกษาจาก Outcome ไปหา exposure ไม่ใช่เหรอครับ แล้วอย่างนี้จะมี case control ที่เป็น prospective ได้ด้วยเหรอครับ

    ขอบคุณมากครับพี่ปวิน

    ตอบลบ
  2. เป็นคำถามที่ดีครับ ถ้าจะว่าไปแล้วมันก็ไม่ควรจะมีครับเพราะเรารอกว่าที่จะเกิด Outcome ขึ้นมาก่อนแล้วค่อยย้อนถาม Exposure อย่างไรก็ตาม มันมีการศึกษา Case Control บางชนิด ที่ซ้อนอยู่ในการศึกษาแบบ Cohort ซึ่งเรียกว่า Nested Case Control ครับ

    ยกตัวอย่างเช่น โปรเจคที่ติดตามดูพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทุกคน โดยในปีแรกก็เก็บข้อมูลมันซะทุกอย่าง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ประวัติการกินยา เก็บตัวอย่างเลือดแช่ช่องฟรีซไว้ ทีนี้ถ้าเรานั่งดูการเกิดโรคหัวใจไปเรื่อยๆ มันก็จะคือการศึกษาแบบ Cohort ธรรมดาใช่ไหมครับ แต่ถ้ากลับกันอยู่ดีๆ เกิดมีคนสองสามคนในจำนวนคนที่ศึกษาเป็นมะเร็งของไส้ติ่ง (ซึ่งพบน้อยมากๆ) เราก็สามารถที่จะเอาข้อมูลที่เก็บไว้ตั้งแต่แรกมาเปรียเทียบกันระหว่างคนที่เป็นไส้ติ่ง (case) กับคนที่เก็บไว้แต่ไม่เป็นไส้ติ่ง (control) ได้ครับ ซึ่งบางคนจะเรียกการศึกษาแบบนี้ว่ามันเป็น prospective ครับ

    จริงๆ เรื่อง prospective retrospective อยากให้แค่พอรู้เรื่องคร่าวๆ ครับ เพราะเถียงกันเยอะจริงๆ และจริงๆ แล้วสิ่งที่อยากให้อยากให้รู้คือข้อดีและข้อด้อย (ซึ่งผมพูดถึงไปนิดเดียวเองว่าข้อดีข้อด้อยแต่ละอันมันเป็นยังไง .. แฮะๆ ไว้ว่างๆ จะมาสรุปให้ฟังละกันนะครับ)

    เรื่องสถิติ ผมเองก็ไม่ได้ชำนาญมากไว้จะ review ให้พอเข้าใจคร่าวๆ วันหลังนะครับ ขอบคุณครับ

    (ป.ล. ไม่ต้องห่วงนะครับเพราะตอนปี 3 ผมก็คะแนนประมาณนี้แหละ น้อยกว่านี้ด้วยมั้ง 555)

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ31/1/52 21:12

    อ่อ เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ ^^

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ30/6/52 23:28

    อาจารย์ คะ ขอบคุณมากๆเลย ที่ให้คำอธิบาย แบบง่ายๆ ถ้าจะขออนุญาติ นำไปเผยแพร่ให้เพื่อนๆในรพ เรียนไปด้วยจะได้ไหมคะ โดยขออนุญาติ ref ถึงอาจารย์น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. เผยแพร่ได้เลยครับ เพียงแต่รบกวนแสดงที่มา (คือเว็บนี้), ไม่นำไปดัดแปลงต่อ และไม่เอาไปขาย ตามสัญญาอนุญาต Creative Commons ด้านซ้ายมือนะครับ ^^

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ8/7/52 09:42

    ก่อนอื่นขอบคุณมากเลยนะคะ ทำให้ช่วยเข้าใจได้ดีมากๆ เลยคะ
    แต่อยากขอถามต่อด้วยคะ ว่าถ้าเราจะทำวิจัยแบบ retrospective เราจะต้องกำหนดอย่างไรคะว่าจะย้อนหลังเก็บกี่เดือน

    ตอบลบ
  7. จำนวนเวลาที่เก็บข้อมูลนั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องครับ

    ปัจจัยที่เห็นได้ชัดหลักๆ มีอยู่สองอย่าง อย่างแรกก็คือจำนวนเคสที่เราเก็บได้นั้นจะเพียงพอต่อการคำนวณ Sample Size ที่จะ Detect ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มได้หรือไม่ครับ โดยมากมักจะไม่พอและทำให้ต้องเก็บไปทั้งหมด

    นอกจากนี้การศึกษาแบบ Retrospective ซึ่งมักทำเป็นการ review chart ยังเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลขาดๆ หายๆ โดยเฉพาะการย้อนหลังไปเป็นเวลานานๆ ครับ ก็คงต้องขึ้นกับสถาบันนั้นๆ ว่าเก็บย้อนหลังไปเท่าไหร่ คุณภาพของการเก็บเป็นอย่างไรครับ

    อีกอย่างสุดท้ายที่จะลืมไม่ได้ก็คือความเป็นไปได้ในการเก็บ ทั้งแง่แรงงานและค่าใช้จ่ายนะครับ

    ขอให้โชคดีครับ

    ตอบลบ
  8. chaledang5/11/52 02:35

    สุดยอดเลยครับ ได้ความรู้มากมาก ดีดครับ สู้ต่อไปครับ พี่ครับ

    ตอบลบ
  9. chaledang chaledang@hotmail.com5/11/52 07:55

    พี่ครับบบรบกวน ครับบบบ
    น้องงเรื่อง intervention study อะครับ กับ clinical trail
    อยู่ส่วนไหนของ study design ครับ
    แล้วผมต้องมีงานพรีเซนเกี่ยวกับ intervention study ตั้ง ยี่สิบนาที ครับ
    ควรจะพูดไปในแนวไหนดีครับ เพื่อพูดให้ได้นานที่สุดอะครับ
    แล้วก็ ข้อดีข้อเสียของ intervention study มีอะไรบ้างครับผม
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  10. ตอบให้ทางเมลแล้วนะครับ โดยสรุปแล้ว intervention study ก็คือ experimental study นั่นแหละครับ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ12/12/52 14:18

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้ ขออนุญาติเผยแพร่และอ้างอิงชื่ออาจารย์นะคะ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ4/1/53 20:46

    ขออนุญาต copy รูปไปใช้พรีเซนท์หน่อยนะคะ

    ทั้งรูปและบทความเข้าใจง่ายดีมากๆเลยค่ะ

    ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ21/3/53 11:55

    อยากรบกวนให้ช่วยอธิบาย odd ratio กับ ค่า p-value ด้วยค่ะ
    ต้องทำ paper ส่งอาจารย์ค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
    sakolkornw@hotmail.com

    ตอบลบ
  14. อาจารย์ค่ะ เข้ามาหาความรู้จาก webอาจารย์บ่อยค่ะ ..ต้องขอขอบคุณมากมายกับความรู้ที่อาจารย์ให้ แต่ยังสงสัยว่า ถ้าเราหา RISK FACTOR ในงานวิจัยแล้ว เราสามารถหา multiple regression ได้อีกหรือเปล่าค่ะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    pesee.kanjana@gmail.com

    ตอบลบ
  15. ขอบคุณครับ...
    d

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ24/9/54 07:12

    อจ.คะ ไม่เข้าใจ ถ้าเราเจอ [(OR)0.1,95%CI= 0.01 – 0.7 ;p=0.024] เราจะแปลผลยังไงคะ หรือ [(OR)23.8,95%CI= 4.3 – 189.1 ;p=0.008] ดูช่วง CI กว้างมากเลย จะแปลผลแบบไหนคะ

    ตอบลบ
  17. แปลตามเนื้อผ้าครับ ว่าค่าที่ได้จากการศึกษาในกรณีแรกคือ 0.1 เท่า โดยค่าจริงๆ ถ้าทำการศึกษาเยอะเพียงพอ น่าจะอยู่ในช่วง 0.01 - 0.7 ครับ

    โดยมากแล้วถ้าช่วง 95% CI กว้างมักจะบ่งบอกถึงขนาดของ Study ที่เล็กครับ

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ5/11/54 08:33

    อจ.คะ ถ้ากรณีเราจะเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 1,200 คน ซึ่งมันคงเก็บไม่ได้ครบ 100% แน่นอน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรคะ ว่า ประชากรที่เราเก็บมา ขนาดไหน ถึงจะเรียกว่า เพียงพอ จริง เราจะอ้างว่าเราลองใช้สูตรยามาเน่ คำนวณว่าถ้าประชากร 1,200คน อย่างน้อยสุดต้องได้ เท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลขนั้นมาอ้างได้ไม๊คะ

    ตอบลบ
  19. ต้องใช้สูตรคำนวณ Sample Size ครับ ซึ่งสูตรคำนวณจะล้อไปกันกับลักษณะของ Study Design และการ Analysis ครับ

    ทางที่ดีควรปรึกษานักสถิติในการคำนวณครับ

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ6/11/54 21:23

    ขอบคุณค่ะอจ.
    ติดตามบทความอจ.มาหลายเรื่องแล้ว อจ.สรุปได้เข้าใจง่ายดีค่ะ

    อจ.ค่ะ ถ้าเราศึกษาแบบเชิงพรรณา แต่ไม่หาความสัมพันธ์ พวกค่า odd ratio กับ p-value จำเป็นต้องเอามาใช้รึเปล่าคะ

    แล้วบทความที่อจ.เขียน 2 เรื่องนี้มีลงไว้บ้างรึยังคะ

    ตอบลบ
  21. ส่วนของการศึกษาแบบ Descriptive Studies จะไม่มีการหาค่า Odds Ratio หรือ p-value ครับ

    สำหรับเรื่อง OR, p-value เคยเขียนไว้ในบทความตอนนี้ครับ: http://www.clinicalepi.com/2008/09/guideline-for-appraisal-of-therapy.html

    ตอบลบ
  22. อาจารย์ค่ะ
    เรียนถามเรื่อง study designs ค่ะ หากจะศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด ถ้าต้องการศึกษาอัตราการรอดชีวิตในแต่ละ stag แล้วจะต้องใช้สถิติอะไร เป็นตัว predictor ค่ะ
    กาน

    ตอบลบ
  23. ถ้าถามว่า Study Design แบบไหน ไว้ศึกษา Prognosis ดีที่สุด คงต้องตอบว่าเป็นกลุ่มของ Prospective Cohort Study ครับ ถึงแม้จะทำยาก เนื่องจากต้องตามไปจนกว่าคนไข้จะตาย (ซึ่งโดยมากก็เป็น 3yr, 5yr ทั้งนี้ยังไม่นับว่าเราจะต้อง "รอ" คนไข้ใหม่เข้ามาใน Study อีก)

    ส่วนสถิติที่ใช้ มักเป็น Survival Analysis ครับ โดยมากพวกนี้จะวิเคราะห์ด้วย Kaplan Meier Survival Function ครับ

    ตอบลบ
  24. ไม่ระบุชื่อ10/12/54 20:12

    รบกวนอาจารย์อธิบาย Nested case control study ค่ะ

    ตอบลบ
  25. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  26. Nested Case Control คือการที่เรามี Cohort เพื่อศึกษาอะไรบางอย่างอยู่แล้ว (เช่น Cohort ของคนในเมือง Framingham ที่ทำการศึกษาเรื่อง Heart) แล้วเราทำ Study ใหม่เรื่องอื่นที่เป็นลักษณะของ Case-control ซ้อนเข้าไปโดยใช้ประชากรเป็นของ Cohort เดียวกันนี้ครับ

    ข้อดีของมันคือมันจะมีข้อมูลที่เก็บไว้อยู่แล้ว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดแรง และไม่ต้องพะวงเรื่องของ Recall Bias (การที่ Subject จำประวัติตัวเองได้ไม่ดี) ครับ

    ตอบลบ
  27. ไม่ระบุชื่อ19/1/55 14:38

    อาจารย์คะถ้าเราจะศึกษาเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมเสียง เราจะออกแบบวิจัยอย่างไรดีคะ ถึงจะเหมาะสม

    ตอบลบ
  28. ไม่ระบุชื่อ20/1/55 04:09

    อธิบายได้เยี่ยมมากค่ะ ^^"

    ตอบลบ
  29. ไม่ระบุชื่อ14/4/55 15:37

    สำหรับการประเมินวรรณกรรมที่เป็น case series จะใช้การประเมินแบบไหนคะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  30. ไม่ระบุชื่อ25/4/55 10:50

    อาจารย์คะ หนูทำวิจัยในคนไข้ 4 กลุ่ม คือ เป็น CP อย่างเดียว, เป็นทั้ง CP+DM, ไม่เป็นCPแต่เป็นDM และไม่เป็นทั้งCPและDM ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 23, 21, 20 และ 22 ตามลำดับ จากนั้นเก็บ gingival tissues และนำมานับจำนวนเซลล์ 8 ชนิด (8 ตัวเเปร)จากนั้นทดสอบด้วย 2 way ANOVA เพื่อดู interaction ของ 2 factors มีคำถามเรียนปรึกษาอาจารย์ดังนี้ค่ะ
    -เนื่องจากมีข้อมูลของ 6 ตัวเเปรไม่เป็น normal distribution จึงได้ exclude 3 samples แล้ว test อีกครั้งพบว่ามี 4 ตัวเเปรแรกที่มี normal distribution ส่วนตัวเเปรท่ีเหลือไม่เป็น normal
    เราจะทดสอบด้วยสถิติตัวไหนดีคะ ถ้า 4 ตัวเเปรทดสอบด้วย 2 way anova แล้วอีก 4 ตัวเเปรที่ไม่เป็น normal เราทดสอบด้วย non parametric test(kruskal wallis) ไม่ได้ดู interaction อาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไรคะ
    -หนูได้ลองเปลี่ยนข้อมูลท่ีไม่เป็น normal ให้เป็น log แล้ว test พบว่าข้อมูลเป็น normal distribution แล้วจึงไปทดสอบ 2 way ANOVA เพื่อท่ีจะได้ดู interaction ในทุกตัวเเปร ทำเเบบนี้ได้ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ22/4/61 09:52

      ในกรณีที่ทำ log transformation เพื่อเป็น normal distribution แล้ว สามารถใช้ ANOVA ได้ครับ

      ลบ
  31. ไม่ระบุชื่อ29/4/55 23:46

    very good knownledge!! thanks very much sir

    ตอบลบ
  32. พอดีมีคนถามมานะครับ ว่า "Nested Case Control" ต่างกับ "Case-Cohort Design" อย่างไร

    สองวิธีนี้ต่างกันที่การ "เลือก" กลุ่มตัวอย่างมาวิจัยจากกลุ่มคนที่อยู่ใน Cohort ครับ

    Nested Case Control โดยมากแล้วจะเลือกจำนวน Case ที่พบในประชากรมาก่อนครับ แล้วค่อยมา Random หา Control ในกลุ่ม Cohortต่อ ส่วน Case-Cohort นี้จะเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างมาวิจัยก่อนแล้วค่อยมาดูว่าในส่วนกลุ่มย่อยที่เลือกมา (Sub-cohort) นั้นมีจำนวน case, control เป็นอย่างไร ก็เหมือนกันกับเป็น Cohort ใน Cohort อีกทีครับ ที่ทำเช่นนี้เพื่อที่จะได้ประหยัดทรัพยากรในการทำการศึกษาครับ

    ตอบลบ
  33. คุณ ไม่ระบุชื่อ ครับ ผมแนะนำให้ปรึกษานักสถิติอีกครั้งดีกว่าครับ ผมเองก็ไม่ใช่นักสถิติโดยตรงด้วยครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

    ตอบลบ
  34. ไม่ระบุชื่อ4/7/55 13:40

    Case-control ต่างจาก RCT อย่างไรคะ

    ตอบลบ
  35. case control เป็น observational study ครับ ผู้ศึกษาไม่ได้ยุ่งอะไรกับผู้ถูกศึกษา แค่เก็บข้อมูล
    RCT เป็น experimental ครับ

    ตอบลบ
  36. ไม่ระบุชื่อ10/8/55 10:34

    เรียนถามอาจารย์ ถ้าเราคำนวนขนาดตัวอย่างของ case กับ control ไว้แล้ว แต่พอเก็บข้อมูลเราพบว่า case หายไป ทำให้เก็บข้อมูลของ case ได้ไม่พอ มีคำแนะนำให้ทำอย่างไรต่อครับ

    ตอบลบ
  37. ถ้าต้องการเก็บให้ได้ตาม power ที่คำนวณไว้จริงๆ ก็ต้องเก็บเคสให้ครบตามที่คำนวณไว้ครับ แต่ถ้ามันไม่สามารถทำได้จริงๆ ก็อาจจะเขียนไว้ใน result, discussion ของเปเปอร์ แต่ก็ต้องทำใจว่า sample ที่ได้อาจมี power ไม่พอที่จะ detect difference ครับ

    ตอบลบ
  38. พงศ์26/8/55 10:18

    Case control study และ historical or retrospective cohort study ต่างกันอย่างไรครับ

    ตอบลบ
  39. case control ตามจาก outcome --> exposure
    cohort ตามจาก exposure --> outcome
    ถ้าทำในช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้ว เช่น ปีนี้ปี 2555 แต่รีวิวปี 2550-2554 ก็เรียกว่า retrospective cohort แต่ก็ยังดูจาก exposure --> outcome ครับ

    ตอบลบ
  40. ในการศึกษาแบบ Case-control เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะชนิด Migraine พบว่า Odds Ratio ของการมีระดับความเครียดสูง เท่ากับ 3.2 (95% Cl เท่ากับ 1.7-6.0)
    14. การมีความเครียดสูงของ Case เทียบกับ Control เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ (Percentage Increase in Odds) อย่างน้อยที่สุดเท่ากับ
    ใครกอได้ช่วยตอบที.......................

    ตอบลบ
  41. อ่านแล้วเข้าใจเนื้อหามากขึ้น สั้นๆและได้ใจความ ขอบคุณมากค่ะ ......จากนักศึกษาเฉพาะทางด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

    ตอบลบ
  42. สวัสดีค่ะ รบกวน อ.ช่วยให้ความหมาย วิธีการศึกษา และจุดอ่อนจุดแข็ง ของ nested case-control study ให้หน่อยนะคะ เพราะว่าตอนนี้หนูกำลังสับสนอย่างรุนแรงเลยค่ะ ว่า nested case-control study กับ cohort study มันใช่อันเดียวกันรึป่าวค่ะ
    ปล.ถ้าเป็นไปได้ แนะนำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยก็ดีนะคะ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ22/4/61 10:03

      Nested case control study เป็น case control ที่ทำใน cohort study เป็นลักษณะลูกผสม
      ข้อดี
      - ดีกว่า case control ปกติคือลด recall bias และอธิบาย casual relationship ได้ดีกว่าเนื่องจากมั่นใจว่า Exposure เกิดก่อน outcome จริงๆ
      - สามารถประมาณค่า association ได้ว่า Odd Ratio จากการคำนวณเทียบเท่า Risk raio สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายได้

      ข้อเสียเมื่อเทียบกับ case control ธรรมดาคือ แพงและเสียเวลามากกว่า

      ลบ
  43. สวัสดีค่ะ รบกวน อ.ช่วยให้ความหมาย วิธีการศึกษา และจุดอ่อนจุดแข็ง ของ nested case-control study ให้หน่อยนะคะ เพราะว่าตอนนี้หนูกำลังสับสนอย่างรุนแรงเลยค่ะ ว่า nested case-control study กับ cohort study มันใช่อันเดียวกันรึป่าวค่ะ
    ปล.ถ้าเป็นไปได้ แนะนำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยก็ดีนะคะ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ
  44. ดีมากครับ...อ่านแล้วเข้าใจ study design มากขึ้น

    ตอบลบ
  45. ไม่ระบุชื่อ28/11/55 00:51

    ดีมาก ๆๆ เลยค่ะ ตอนแรกงงและจำไม่ได้เพราะเรียนมานานแล้วแต่ต้องนี้ หลังจากอ่านเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งข้อความที่โพสทั้งหมด ทำให้กระจ่างมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  46. ไม่ระบุชื่อ28/11/55 21:40

    สวัสดีค่ะ รบกวน อ.คะ
    ถ้าทำในช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้ว เช่น ปีนี้ปี 2555 แต่รีวิวปี 2550-2554
    retrospective cohort ไหมคะ
    แล้วดูเรื่อง accuracy 0f outcome
    sample size ต้องดูและคำนวณยังงัยคะ
    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  47. เป็น Retrospective Cohort ครับ

    สำหรับ Sample Size ต้องขึ้นอยู่กับว่า Outcome นั้นเป็นแบบใด และจะมีการเปรียบเทียบ Outcome หรือไม่ อย่างไร ผมแนะนำว่าควรหานักสถิติมาคำนวณให้นะครับ

    ตอบลบ
  48. Nested Case Control / Case Cohort อดใจรอนิดหน่อยนะครับผมกำลังพยายามเขียนอยู่ แฮะๆ

    ตอบลบ
  49. รบกวนถามนะค่ะ retrospective cohort study เป็นการศึกษาแบบไหนค่ะ? แล้วใช้กับกลุ่มตัวอย่างแบบใดด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  50. Retrospective Cohort ก็คือเป็น Cohort (ตามคนไข้สองกลุ่มตั้งแต่เริ่มมีและไม่มี Risk Factor [Exposure] ไปจนเกิด Outcome) แต่ทำในอดีต (คือไปค้นเวชระเบียนที่มีการบันทึกไว้แล้ว) ครับ

    ตอบลบ
  51. ไม่ระบุชื่อ3/5/56 16:27

    ขออนุญาตถามครับ ว่าทำไม case control ถึงหาได้แต่ Odds ratio ครับ

    ตอบลบ
  52. ไม่ระบุชื่อ5/9/56 02:10

    ถ้าจะเปรียบเทียบระยะเวลาในการนอนต่อผลของวัคซีน
    ใช้case control หรือ retrospective cohort ดีคะ

    case control นี่ใช้ได้เฉพาะเป็นโรค กับไม่เป็นโรคหรือเปล่าคะ

    ตอบลบ
  53. Case control หาได้แต่ Odds Ratio เนื่องจากว่าไม่สามารถคำนวณ Risk ออกมาได้ครับ (ไม่ได้มีการติดตามคนไข้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งได้แบบ Cohort)

    ระยะเวลาในการนอนต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ผมมองว่าน่าจะเป็น cohort ดีกว่าเนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนไม่ได้เป็น rare outcome เท่าใดครับ, case control ส่วนมากจะใช้ในโรค กับไม่เป็นโรค แต่จะใช้ในกรณี outcome อื่นๆ ก็เป็นได้ครับ

    ตอบลบ
  54. รบกวนถามหน่อยค่ะ ถ้าสมมติ การสำรวจโรคจากการประกอบอาขีพ. สำรวจครั้งแรกในชุมชนมีคน1000คน มีโรงงานทอผ้าอยู่1แห่ง. มีคนงานจากชุมชน 250 คน พบว่าคนงานจากชุมชนเป็นโรคbyssinosis 178 รายจากคนมีอาการทั้งหมดของชุมชน222ราย. และมีคนเป็นasthma 438คนจากประชากรทั้งหมด โจทย์ข้อนี้ควรใช้การศึกษาแบบใด ในการยืนยันว่าคนงานโรงงานในชุมชน เป็นโรคจากการประกอบอาชีพ ควรจะเป็น case -control stydy หรือ retro cohort ดีคะ

    ตอบลบ
  55. ไม่ระบุชื่อ18/2/57 01:35

    เรียนถามอาจารย์หน่อยครับ ผมทำวิจัยหาอัตรารอดชีวิตของมะเร็งเต้านมครับ (retrospective) ไม่ทราบว่า5-year survival คำนวณยังไงครับ หาจากจำนวนผู้ป่วยทีีมีชีวิตอยู่เกิน 5 ปีหารด้วยจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด หรือคำนวณจาก Kaplan -Meier curve ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าเป็น cohort หา incidence จาก Kaplan-Meier curve จะถูกต้องกว่าครับ
      ถ้าจำนวนคนที่เกิน 5 ปี นั่นเป็น prevalence ของคนที่รอดเกิน 5 ปีมากกว่านะครับ

      ลบ
  56. อยากทราบว่า การวิจัยแต่ละงานวิจัย ใช้การประเเมินวรรรรกรรมแตกต่างกันยังไงบ้างค่ะ ตอนนี้รู้แค่ RCT ใช้ 33 ข้ออะค่ะ อื่นๆ เช่น retrospective cohort study ใช้กี่ข้อหรอค่ะ แล้วจะหาแบบฟอร์มได้จากที่ไหน

    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. น่าจะหมายถึง guideline การ report นะครับ เลยขออนุญาตเขียนเป็นบล็อกตอนใหม่ให้ไว้เลยดีกว่าครับ http://www.clinicalepi.com/2014/03/guidelines-for-clinical-research-paper.html

      ลบ
  57. ไม่ระบุชื่อ25/5/57 13:25

    retrospective เรื่อง clinical of TB 5 ปีย้อนหลัง แต่คำนวณ sample ไม่เป็นค่ะ ใช้ program อะไรค่ะ

    ตอบลบ
  58. ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ตามมาอ่านค่ะ

    ตอบลบ
  59. เรียนถามอาจารย์ค่ะ
    ถ้างานวิจัยศึกษาในกลุ่มโรคหนึ่งเปรียบเทียบผลการรักษาของ 2 intervention ประเมินด้วย questionnaire แต่เก็บคนละช่วงเวลา
    โดยกลุ่มแรก เอาจากของเก่าเก็บปี 55-56
    แต่กลุ่มที่ 2 กำลังจะเริ่มทำ แบบนี้ถือเป็น study design แบบไหนคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ14/1/58 15:21

      เดาเอาว่า เมื่อใดมีการเปรียบเทียบ outcome จากตัวอย่าง 2 กลุ่ม ไม่ว่าจะเปรียบเทียบว่า ต่างหรือไม่ต่าง หรือ สัมพันธ์กันมั้ย ย่อมมีสถิติมาจับ สังเกตุว่าจะมี p value ดังนั้น การทำแบบนี้คือ analytical ส่วนจะดูว่า analytical แบบไหน ไม่แน่ใจ ยิ่งการเปรียบเทียบอะไรที่ต่างช่วงต่างเวลาต่างกลุ่ม มักควบคุมปัจจัยกวนไม่ได้เลย นอกจาก เป็น การทดลองในกลุ่มเดียวกันแบบก่อนหลัง

      ลบ
  60. ไม่ระบุชื่อ16/1/58 23:32

    เรียนถามอาจารย์ค่ะ
    cross-sectional cohort study ต่างจาก cohort study อย่างไรคะ search หาได้มา 1 paper แต่อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  61. อยากให้เขียนหนังสือเรื่อง สถิติที่ใช้ในงานระบาดวิทยา เเบบภาษาไทย จังเลยค่ะ ภาษาเข้าใจง่ายมากๆเลย
    ขอบคุณมากๆนะคะ อ. ^^

    ตอบลบ
  62. ไม่ระบุชื่อ26/10/58 04:36

    อาจารย์คะ ขออนุญาตถามเรื่องstudy designหากมีการใส่ intervention เช่นการให้กินยาA เพื่อดูefficacy การรักษาlesionของโรคหนึ่งในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง(กลุ่มเดียว) แล้ววัดผลก่อนกินกับหลังกิน(ของคนไข้1กลุ่มเดิมนี้)ว่ารอยโรคดีขึ้นหรือไม่ อย่างนี้จัดเป็นแบบไหนค่ะ พอดีงงว่าถ้ามี intervetion แต่ไม่มีการแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ จะจัดเข้าstudy designแบบไหนค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป็นงานวิจัยแบบ pre-post study ครับ บางคนเขาก็จะจัดอยู่ในรูปแบบของ cohort ครับ แต่บางคนก็ไม่จัดครับ

      ลบ
  63. รบกวนสอบถามค่ะ กำลังจะทำวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการทันตกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมาจากปัญหาการมารับบริการทันตกรรมเพียง ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มีคนแนะนำให้ทำแบบ case control ยังไม่เข้าใจว่าทำอย่างไร ต้องคำนวณกลุ่มตัวอย่างแบบไหนค่ะ ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องดูว่าวัดผลยังไงครับ

      ลบ
  64. คือหนูเข้าใจถูกมั้ยคะเช่นมีรายงานผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจหลายคนในชุมชนหลังจากมีโรงงานอุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นมา3ปี ใช้การวิจัยแบบcase control study
    แล้วถ้าโจทย์: ในรพ.มีผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นในรอบ3ปีที่ผ่านมาในช่วงฤดูหนาวที่มีหมอกลงจัดจะใช้รูปแบบใดในการศึกษาวิจัยอะคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมคิดว่า incidence ของโรคระบบทางเดินหายใจ น่าจะบ่อยนะครับ ไม่น่าจะเหมาะกับการใช้ case-control
      น่าจะเป็นการเปรียบเทียบ ก่อน และหลัง 3 ปีมากกว่า อาจจะเป็น multiple cross-sectional ดู trend

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  65. ใช้cross-sectional ทั้ง2ตัวอย่างเลยหรอคะพอดีมันเป็นข้อสอบแต่หนูไม่มั่นใจคำตอบน่ะค่ะอ่านไปอ่านมาก็ยิ่งงง ว่า2ข้อนี้มันใช้การวิจัยต่างกันยังไง

    ตอบลบ
  66. อ.คะ ถ้าเป็นพวก case report ที่รายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่กี่ case ไม่ทราบว่ามีการประเมินววรณกรรมเหมือนรูปแบบอื่นไหมคะ

    ตอบลบ
  67. ดีมากๆค่ะ
    ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  68. ขอถามคำถามง่ายๆหน่อยนะคะ ตอนนี้กำลังอ่านงานวิจัยอยู่
    อยากจะรู้ว่า prospective case-control study จัดอยู่ในประเภทไหนคะ
    คือไปหานิยามของ Prospective study ได้ว่าเป็น การศึกษาจากเหตุไปผล
    แต่ case control คือ จากผลไปหาเหตุ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. Prospective ในที่นี้ น่าจะหมายความถึงผู้เขียน ดำเนินการเก็บข้อมูลใหม่ครับ ซึ่งก็แปลก จริงๆ ควรดูใส้ในของ fulltext ว่าผู้เขียนดำเนินการเก็บข้อมูลแบบนี้จริงหรือไม่ครับ

      ลบ
    2. โอเคค่ะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ข้อมูลด้านบนเข้าใจง่ายมาก

      ลบ
  69. ไม่ระบุชื่อ28/10/60 12:13

    ขอถามครับว่า ถ้าเราทำการเก็บข้อมูลแบบ prospective case-control study ได้มั้ยครับ เช่น ต้องการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคๆนึง โดยเราต้องการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างใหม่(ในกรอบเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี) เพราะโอกาสที่ถ้าเก็บแบบย้อนหลังจากรายงานเก่าๆ ข้อมูลอาจได้ไม่ครบที่ต้องการ และเราจะสามารถนำมาคำนวณทางสถิติแบบ case-control ได้มั้ยครับ และการวิจัยลักษณะนี้จะคำนวณ sample size อย่างไรครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าต้องการหาปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคๆ หนึ่ง โดยเก็บจากข้อมูลตัวอย่างใหม่ และรอจนกว่าคนไข้จะเกิดโรค ก็จะเป็น Cohort ทันทีครับ (เพราะรอเคสใหม่เกิด)
      แต่ถ้าปัจจัยเสี่ยงนั้นเกิดอยู่ในช่วงเวลาพอดีกับโรคที่เกิด หรืออยู่ในเวลาเดียวกัน ก็จะเป็น Cross sectional ทันทีครับ
      ดังนั้นจะทำแบบที่กล่าวมา ก็จะยากนิดหน่อย ยกเว้น โรคที่เกิดเป็นฉับพลันทันที และหายทันที ก็อาจจะพอไหวครับ (แต่เตรียมเก็บไว้ก่อนที่จะเป็น Case แบบนี้ก็จะเรียกเป็น Nested case control)

      ยังไงถ้างงต้องลองยกตัวอย่างครับว่าโรคอะไร

      การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยง จะต้องการคนที่เป็นโรคอย่างน้อยเท่ากับ 10 คนต่อ 1 ปัจจัยเสี่ยง เช่น ถ้าต้องการศึกษาโรคหอบหืดกำเริบ โดยดูปัจจัยเสี่ยง อายุ เพศ ประวัติผื่น สามปัจจัย ก็จะต้องการคนที่เป็นหอบหืดกำเริบ 30 คน (และอย่าลืมว่าต้องการคนที่ไม่กำเริบ อีกจำนวนหนึ่งด้วยครับ)

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ29/10/60 11:28

      อ้อ เข้าใจความหมายแต่ละอันละครับ ขอบคุณมากๆเลยครับ

      ลบ
  70. ไม่ระบุชื่อ12/8/61 23:37

    รบกวนยกตัวอย่างงานวิจัยที่เป็น descriptive analytic crossectional กับ cohort ให้หน่อยได้มั๊ยคะ

    ตอบลบ
  71. อยากทราบว่าสามารถนำ cross sectional รวมกับ cohort ได้ไหมคะ พอดีมีการศึกษาหนึ่งเขียนstudy design ไว้แบบนั้นค่ะ

    ตอบลบ
  72. ไม่ระบุชื่อ21/8/65 18:30

    ARSIP SUMUT

    TOP NEWS >>> www.arsipsumut.com

    ตอบลบ

ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ด้วยนะครับ
Please leave your comments about this topic.